วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

กลอนสุภาษิตสอนหญิงของสุนทรภู่

๏ อันที่จริงหญิงชายย่อมหมายรัก
แม้นจักรักรักไว้ในอารมณ์
ดังพฤกษาต้องวายุพัดโบก
จงยับยั้งช่างใจเสียให้ดี
อันตัวนางเปรียบอย่างปทุเมศ
หอมผกาเกสรขจรขจาย
ครั้นได้ชมสมจิตพิศวาส
ไม่อยู่เฝ้าเคล้ารสเที่ยวจดลอง
แม้นชายใดหมายประสงค์มาหลงรัก
อันความรักของชายนี้หลายชั้น
จงพินิจพิศดูให้รู้แน่
เปรียบเหมือนคิดปริศนาอย่าไว้ใจ
อันแม่สื่ออย่าได้ถือเป็นบรรทัด
แต่ล้วนดีมีบุญลูกขุนนาง
อันร้ายดีมิได้เห็นเป็นแต่ว่า
เหมือนเขาหลอกบอกลาภถึงเมืองไกล
ทางไกลตาอุปมาเหมือนเสียเนตร
เขาจะนำไปตายก็ตายพลัน
อันแม่สื่อคือปีศาจที่อาจหาญ
อย่าเชื่อนักมักตับก็คับโครง
อันความชั่วอยู่ที่ตัวของเราหมด
จงฟังหูไว้หูกับผู้คน

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตัวอย่างร้อยกรอง ชื่อกฤษดาสอนน้องคำฉัน



สัตว์ตายเหลือเขาหนังคนตายเหลือความดีความชั่ว

คชสารแม้ม้วยมีงา โคกระบือมรณา
เขาหนังก็เป็นสำคัญ


บุคคลถึงกาลอาสัญ สูญสิ้นสารพัน
คงแต่ความชั่วกับดี

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2550

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ประเภทวรรณกรรม

วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
1. ร้อยแก้ว เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวต่าง ๆ
2. ร้อยกรอง เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัส คล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความ งานมของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย
http://www.mew6.com/composer/art/literature.php

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2550

คุณค่าวรรณกรรม

คุณค่าของวรรณกรรมท้องถิ่น
วรรณกรรมท้องถิ่นไทยรามัญ มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของคนไทย ดังนี้
1. คุณค่าด้านความบันเทิง เพลงพื้นบ้านไทยรามัญแสดงความสามารถปฏิถาณไหวพริบ ของบุคคลในท้องถิ่นนิทานพื้นบ้านไทยสมัยก่อนให้ความสำเริงอารมณ์ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดจากการทำงานของคนในท้องถิ่น
2. คุณค่าด้านคุณธรรม จริยธรรม วรรณกรรมท้องถิ่นไทย เป็นเครื่องมือสอนจริยธรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม สอนให้คนทำความดีเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามีความเมตตา
3. คุณค่าในด้านการประพันธ์ เพลงพื้นบ้านไทยรามัญปลูกฝังให้เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนใช้ไหวพริบในการโต้ตอบกันระหว่างชาย-หญิงโลกภาษิตไทยรามัญ มีคำอุปมาอุปมัยเปรียบเทียบให้เข้าใจชัดเจน ใช้ภาษาสละสลวยแสดงโลกทัศน์ของผู้เขียนนิทานคติธรรมปมาสี่-สี่ เป็นนิทานสอนใจให้ข้อคิดที่มาจากปัญญาสชาดก เป็นเรื่องไม่สมจริงแต่ให้ข้อคิดเกี่ยวกับความประพฤติของตัวละคร 4 คน มีความแตกต่างกัน มีความสลับซับซ้อนแต่ผลของการกระทำคือ ทำความดีได้ผลดีตอบแทน
4. คุณค่าด้านมรดกวัฒนธรรม ตำนานไทยรามัญช่วยสะท้อนความเป็นอยู่ของท้องถิ่นศาสานาประเพณี มีทุกภาคทุกท้องถิ่น เช่นที่ประเพณีตักบาตรดอกไม้ วัดพระพุทธบาทสระบุรี อาหารการกิน ตลอดจนการละเล่น

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ความหมายของวรรณกรรม

คำว่า "วรรณกรรม" มีความหมายตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Literature Works" หรือ "General Literature" และการใช้คำว่า "วรรณกรรม" มีปรากฏครั้งแรกในพระราชบัญญัติคุ้มครองศิลปะและวรรณกรรม พ.ศ. 2475 โดยให้คำนิยามคำว่า "วรรณกรรมและศิลปกรรม" รวมกันไว้ดังนี้
" วรรณกรรมและศิลปกรรม หมายความรวมว่าการทำขึ้นทุกชนิดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกศิลปะ จะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปร่างอย่างใดก็ตาม เช่น สมุด สมุดเล็ก และหนังสืออื่น ๆ เช่น ปาฐกถา กถาอื่น ๆ เทศนา หรือวรรณกรรมอื่น ๆ อันมีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือนาฏกียกรรม หรือนาฏกีย-ดนตรีกรรม หรือแบบฟ้อนรำและการเล่นแสดงให้คนดูโดยวิธีใบ้ ซึ่งการแสดงนั้นได้กำหนดไว้เป็นหนังสือ หรืออย่างอื่น ๆ
…" คำว่า "วรรณกรรม" ก็ได้นิยมใช้กันแพร่หลายมาตามลำดับ และสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จัดตั้งสำนักงานวัฒนธรรมทางวรรณกรรมรวมอยู่ในกระทรวงวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2485 มีหน้าที่เผยแพร่วรรณกรรมและส่งเสริมศิลปะการแต่งหนังสือ เพื่อรักษาวัฒนธรรมไทยอย่างเป็นทางราชการสืบต่อจากวรรณคดีสโมสร ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (ธวัช ปุณโณทก. 2527 : 1)

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตอบคำถามสุนทรียศาสตร์


สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) หมายถึง ความซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งที่งาม ไพเราะ หรือรื่นรมย์ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ หรือศิลปะ (พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ. 2530 : 6) ซึ่งความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่าดังกล่าวนี้ย่อมจะเจริญเติบโตได้โดยประสบการณ์ หรือการศึกษา อบรม ฝึกฝน จนเป็นอุปนิสัยเกิดขึ้นเป็นรสนิยม (Taste) ขึ้นตามตัวบุคคล
ประโยชน์ของสุนทรียศาสตร์
1 ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินใจความงามอย่างมีเหดูผล
2 ให้คนมีจิตใจอ่อนโยนมองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล
3 เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียให้กว้างขวางเพื่อดำรงอย่างสันติสุข
4 ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขความงามของสิ่ง
5 ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่งและการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหคุผล
สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์อย่างไรต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร
พยาบาลมีหน้าที่ให้การดูแลผู้ป่วย และให้การพยาบาลผู้ป่วยชึ่งนับว่าเป็นงานด้านการบริการ นอกจากนี้พยาบาลยังมีหน้าที่ด้านวิชาการ พยาบาลจจำเป็นที่จะ ค้องศึกษาวิชาสุนทรียศาสตร์ เพราะวิชานี้ช่วยส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินใจด้วยเหตุผล และช่วยในการกล่อมเกลาให้เป้นผู้มีจิตใจอ่อนโยนมองโลกในแง่ดี เมื่อเราให้บริการผู้ด้วยใจ ทำให้ผู้ป่วยและญาติเกิดความประทับใจ ทำให้เราทำงานอย่างมีความสุข

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550